Page 4 - คู่มือ การปฏิบัติงานสารบรรณ
P. 4

3



                  ความหมายของหนังสือราชการ
                           หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่

                           1) หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
                           2) หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นที่มิใช่ราชการหรือบุคคลภายนอก

                           3) หนังสือที่หน่วยงานอื่นที่มิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ

                           4) หนังสือที่หน่วยงานจัดท าขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
                           5) เอกสารที่ทางราชการจัดท าขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือ ข้อบังคับ

                           6) ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (ระเบียบส านัก

                  นายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม(ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
                  งานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ข้อ 4 ให้เพิ่มค านิยามว่า “อิเล็กทรอนิกส์” และค าว่า “ระบบสารบรรณ

                  อิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างนิยามค าว่า “หนังสือ” และส่วนราชการ” ในข้อ 6 แห่งระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี

                  ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า
                  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง

                  วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น “ระบบสารบรรณ
                  อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทาง

                  อิเล็กทรอนิกส์”
                           การปฏิบัติงานสารบรรณ เป็นการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหนังสือราชการ  6 ชนิด  คือ

                           1. หนังสือภายนอก ใช้ในการติดต่อราชการทั่วไป โดยใช้กระดาษตราครุฑ

                           2. หนังสือภายใน ใช้ในการติดต่อราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้
                  กระดาษบันทึกข้อความ

                           3. หนังสือประทับตรา ใช้ในการติดต่อราชการเฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องส าคัญ

                           4. หนังสือสั่งการ ได้แก่ คาสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
                           5. หนังสือประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว

                           6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดท าขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือรับรองรายงานการ

                  ประชุม บันทึก และหนังสืออื่น


                  ชนิดของหนังสือราชการ
                           1. หนังสือภายนอก คือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี ใช้กระดาษตราครุฑ

                             - ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการ

                             - ส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก
                           2. หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก

                             - ใช้ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกับ ใช้กระดาษบันทึกข้อความ



                                                            คู่มือการปฏิบัติงานสารบรรณ : มะลิวรรณ [ปรับปรุง มีนาคม 2564]
   1   2   3   4   5   6   7   8   9